เบตง เป็นภาษามลายู หมายถึง ไม้ไผ่ ซึ่งมีอยู่มากในท้องถิ่น ต้นไผ่ จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอเบตง เดิมเบตงเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของหัว เมืองมลายู ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงสุโขทัย ตามที่ปรากฏหลักฐาน ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง เมื่อถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายได้ เกิดศึกครั้งใหญ่ขึ้น ระหว่างไทยกับพม่า จนทำให้ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 บ้านเมืองจึงเกิดความวุ่นวาย ระส่ำระสาย โจรผู้ร้ายชุกชุมเจ้าเมืองต่าง ๆ คิดแข็งเมือง และตั้งตนเป็นอิสระ ทำให้หัวเมืองมลายู ซึ่งเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น มีโอกาสรวมตัวกันแข็งเมือง ขึ้นเป็นรัฐอิสระ สร้างความเจริญรุ่งเรืองด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ โดยมีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองปัตตานี ดังปรากฏหลักฐานร่องรอยและซากปรักหักพังของเมืองเก่าต่าง ๆ แถบลุ่มน้ำปัตตานี
ครั้นถึง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1ทรง
รวบรวมหัวเมืองมลายูที่แข็งเมืองกลับมาเป็นเมืองขึ้นได้อีกครั้งหนึ่ง และแบ่งหัวเมือง
ปัตตานีออกเป็น 7 หัวเมือง เมื่อพ.ศ. 2351 มีอาณาเขตชัดเจน ได้แก่ ปัตตานี ยะล
หนองจิก สายบุรี ยะหริ่ง ระแงะ และรามัน ในส่วนของเมืองรามัน นั้น คือ อ.เบตง
รวมถึง อ.ธารโตในปัจจุบัน
ครั้นถึง รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก แผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มากขึ้น รัชกาลที่ 5 จึงเปลี่ยนแปลงรูปแบบ การปกครองใหม่จากระบบหัวเมือง เป็น มณฑล
เทศาภิบาล อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน พื้นที่ของเบตง จึงถูกยกฐานะเป็นอำเภอยะรม
อำเภอยะรม ประกอบด้วยตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอิตำ ตำบลโกรแน
ตำบลบาโลมและตำบลเซะ ภายหลังการปักปันเขตแดนใหม่ในปี พ.ศ. 2452 ไทยต้อง
เสียดินแดนบางส่วนให้กับมาเลเซีย ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เพื่อรักษาเอกราช โดยต้องเสียดินแดนในส่วนของกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส และอีก 4 ตำบลของอำเภอยะรม คือ ตำบลบาโลม ตำบลโกรแน ตำบลอิตำ และตำบลเซะ ไปรวมกับรัฐเปรัคของมาเลเซีย อำเภอยะรมจึงเหลืออยู่เพียง 2 ตำบล คือ ตำบลยะรมและตำบลเบตง ปี พ.ศ. 2473 พระพิชิต บัญชา นายอำเภอยะรมในสมัยนั้น ได้ย้ายที่ทำการ
อำเภอจากบ้านฮางุด หมู่ที่ 1 ตำบลเบตง มาที่บ้านกำปงมัสยิด หมู่ที่ 6 ตำบลเดียวกัน
และเปลี่ยนชื่อจากอำเภอยะรมเป็นอำเภอเบตง ทั้งยังแบ่งการปกครองใหม่เป็น 4
ตำบล คือ ตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอัยเยอร์เวง ตำบลตาเนาะแมเราะ และใน
ปัจจุบันมีตำบลธารน้ำทิพย์ เพิ่มมาอีก 1 ตำบล
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เกิดการประท้วง เรียกร้องให้รวมดินแดน
อำเภอเบตง กับสหพันธรัฐมลายูของอังกฤษ โดยมีนายลู่ เง็กซี่ เป็นหัวหน้ากลุ่มแต่ไม่
ประสบผลสำเร็จ
โจรคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.) เคยใช้พื้นที่ของอำเภอเบตงเป็นฐานปฏิบัติการในสมัยที่สหพันธรัฐมลายูยังตก อยู่ภายใต้อาณัติของอังกฤษ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.
2532 พรรคคอมมิวนิสต์มลายาจึงขอเข้าร่วมพัฒนาชาติไทย