พระมหาธาตุเจดีย์ฯ


พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ



 พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ       เป็นพระธาตุเจดีย์แบบทวาราวดีศรีวิชัย   ตั้งอยู่บนเนินเขาบริเวณวัดพุทธาธิวาส    อำเภอเบตง     จังหวัดยะลา       เป็นพระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่      และสวยงามที่สุดในภาคใต้     สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์    พระบรมราชินีนาถ           ในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา  5  รอบ          ในปีพ.ศ.  2535   และเพื่อเป็นถาวรสถานอันศักดิ์สิทธิ์  เป็นที่ลักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนภาคใต้ของประเทศไทยและประเทศข้างเคียง  ก่อนลงมือก่อสร้าง     ได้สำรวจที่ดินบนเนินเขา       ภายในบริเวณวัดพุทธาธิวาส   พบมีรอยฐานรากก่อสร้าง   เมื่อได้ตรวจสอบแล้วจึงได้ทราบว่า      แต่เดิมมีการริเริ่มจะก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์บนเนินเขามานานแล้ว              และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ     เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ไว้แล้ว       เมื่อวันที่28  มีนาคม  2512   แต่การก่อสร้างมิได้เนินการต่อแต่ประการใด  ท่านอาจารย์ หม่อมราชวงศ์มิตรารุณเกษมศรี         สถาปนิกวัง   ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมไทย     ได้ดำเนินการออกแบบก่อสร้างเป็นพระมหาธาตุเจดีย์ แบบศรีวิชัยประยุกต์    มีเจดีย์องค์ประธานอยู่ตรงกลาง   และมีเจดีย์องค์บริวารอยู่รอบ ๆเจดีย์องค์ประธาน  4  องค์       และมีเจดีย์องค์เล็กขนาดเท่ากับเจดีย์องค์บริวาร  ซึ่งเป็นเรือนธาตุซ้อนอยู่ภายในเจดีย์องค์ประธาน (สำหรับเป็นที่บรรจุพระสถูปพระบรมสารีริกธาตุ)   เฉพาะองค์พระมหาธาตุเจดีย์ กว้างด้านละ  39.90  เมตร สูง  39.90  เมตร  ถ้าวัดจากเชิงบันได้นาคจะสูงประมาณ 69  เมตร     ซึ่งมีความหมายในโอกาสมหามงคลสมัย  60  พรรษา  องค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ  ในรัชกาลที่ 9    เงินทุนในการสร้าง             นายสวัสดิ์  โชติพานิช      ประธานศาลฎีกาในสมัยนั้นได้รับอนุญาตจากท่านเจ้าอาวาสวัดช้างให้         จังหวัดปัตตานี  ใ ห้สร้างพระรูปหล่อเหมือนหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด               มอบให้แก่ผู้ร่วมสมทบทุนการก่อสร้าง      ในระหว่างก่อสร้างสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ   ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ   พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบทุนการก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์  เป็นเงิน   200,000 บาท     และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ   พระราชทานนามพระมหาธาตุเจดีย์ว่า      "พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ"ซึ่งมีความหมายว่า     พระพุทธเจ้าทรงประกาศธรรม        และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว          พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้     นายสวัสดิ์  โชติพานิช  และคณะหล่อพระพุทธรูปฉลองพระองค์        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว       และองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ  ขนาดเท่าพระองค์จริง โดยจำลองจากพระพุทธรูปฉลองพระองค์ที่ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร    แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานไว้บนซุ้มพระพุทธในพระมหาธาตุเจดีย์ทั้งสี่ทิศ     พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว      ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ     ประดิษฐานไว้บนซุ้มด้านทิศเหนือและทิศใต้       ส่วนพระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นพระพุทธรูปปางรำพึงประดิษฐานไว้บนซุ้มด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ   สยามบรมราชกุมารี            ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรการก่อสร้าง         เมื่อวันที่  28  กันยายน  2535  พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศส่วนที่เป็นทรงกลมทุก  ๆ   องค์        บุด้วยโมเสดทองคำอย่างดีที่สุด       จากประเทศอิตาลี      ส่วนที่ถัดลงมาจะบุด้วยโมเสดแก้ว   จากประเทศอิตาลีเช่นเดียวกัน       พื้นทุกชั้นรวมทั้งลานรอบองค์พระมหาธาตุเจดีย์และบันได           ภายในและภายนอกองค์พระมหาธาตุเจดีย์บุด้วยหินอ่อนอย่างดีจากต่างประเทศ         กำแพงแก้วก่อด้วยลูกกรงดินเผากราบแก้วและทรายล้างประตู  หน้าต่าง  และช่องแสงพระนามาภิไธยย่อ  ส.ก.        จัดทำด้วยสะแตนกลาสจากต่างประเทศทุกช่อง    ปลียอดฉัตรหุ้มด้วยทองคำ   ซุ้มทางเข้าพระมหาเจดีย์เป็นซุ้มนาคสามเศียร ปิดทองคำเปลวและมีลานระหว่างกำแพงแก้วและองค์พระมหาธาตุเจดีย์กว้าง  9  เมตร  รอบพระมหาธาตุเจดีย์  ซึ่งบุด้วยหินอ่อนจากต่างประเทศเช่นเดียวกัน              เมื่อการก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์แล้วเสร็จ            สมเด็จพระนางเจ้าฯ   พระบรมราชินีนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ   พระราชทานพระมหาเศวตฉัตร     และพระบรมสารีริกธาตุให้นายสวัสดิ์โชติพานิช    และคุณนงเยาว์  โชติพานิช   และอาจารย์หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ  เกษมศรี       อัญเชิญมาสมโภชที่อำเภอเบตง    ในวันอาทิตย์ที่  10  ตุลาคม  2536  เวลา  16.30  น. ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้       ยังความปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งแก่คณะผู้จัดสร้างพระมหาธาตุเจดีย์  และพุทธศาสนิกชนทั่วภาคใต้  และสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธี           บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและยกฉัตรตลอดจนการเปิดพระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ                เพื่อเป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วทุกภูมิภาคและประเทศข้างเคียงสมเด็จพระญาณสังวร    สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก  ได้ทรงพระกรุณาประทานพระบรมสารีริกธาตุ    และพระสารีริกธาตุสำหรับบรรจุเป็นพระบรมสารีริกธาตุองค์รอง            ด้วยพระบรมสารีริกธาตุพระราชทาน     จะบรรจุอยู่ในพระมหาธาตุเจดีย์องค์เรือนธาตุ  และบรรจุอยู่ในพระสถูปหินอ่อน  ซึ่งจำลององค์พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ  รอบ  ๆ  พระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ุ ประดับด้วยไม้แกะสลักและผ้าม่านสวยงามมาก   ส่วนแท่นที่ตั้งองค์พระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาต        ทำด้วยทองเหลืองลวดลายงดงามมากเช่นกัน             พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ        ได้ก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมไทยที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบทุกประการ        และดำเนินการทุกอย่างตามขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณกาลอย่างสมบูรณ์          และจะเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเบตงพร้อมทั้งปกแผ่พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ      ไปทั่วทุกทิศานุทิศ  และยังความร่มเย็นสมบูรณ์มั่นคงแก่ผู้สักการะบูชาตลอดชั่วกาลนาน                ประวัติพระบรมสารีริกธาตุ  พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ  พระบรมสารีริกธาตุ   ที่บรรจุไว้ในพระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรม         ประกาศวัดพุทธาธิวาส  อำเภอเบตง  
จังหวัดยะลาประกอบด้วย  




1.  พระบรมสารีริกธาตุซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ      พระบรมราชินีนาถ
2.  พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ            ซึ่งได้ทรงประทานจากสมเด็จพระสังฆราชฯ  พระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในพระมหาาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ    มี    4 สัณฐาน คือ 
  1.  สัณฐานดั่งเมล็ดพันธุ์ผักกาด 
  2.  สัณฐานดั่งเมล็ดงาแตก 
   3.  สัณฐานดั่งเมล็ดถั่วแตก 
  4.  สัณฐานดั่งเมล็ดข้าวสาร 
   นอกจากนั้นยังบรรจุพระอรหันตธาตุ  24  พระองค์  คือ 
  1.  พระเบญจวัคคีทั้ง 5  พระโกณธัญญะ  พระวัปปะ  พระภัทธิยะ  พระมหานามะ พระอัสสชิ 
  2.  พระสารีบุตร  พระโมคคัลลานะ 
  3.  พระอานนท์ 
  4.  พระมหากัสสปะ 
  5.  พระอุบาลี 
  6.  พระภควันปติ 
  7.  พระราหุล 
  8.  พระแม่พิมพาเถรี 
  9.  พระสิวลี 
  10. พระมหากิจจายนะ  พระกัจจยนะ 
  11. พระอนิรุชทะ 
  12. พระองคุลิมาลย์ 
  13. พระกัสสปะ  พระอุปคุต 
  14. พระโสนะ  พระอุตระ 
   15.  พระนาคเสน 
  16.  พระสันติมหาอำมาตย์ 
  พระบรมสารีริกธาตุ  และพระอรหันตธาตุ          รวมทุกพระองค์ประมาณ    5,000 พระองค์ 


ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.yala.go.th